การรักษารากฟัน เป็นขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรม โดยการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อและอักเสบ ร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน เป็นฟันที่ผุลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันที่ร้าว แตกหัก ฟันสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน และฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ทำให้มีเชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทฟันและทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันได้ คำแนะนำหลังการรักษารากฟัน 1. ในกรณีที่ฉีดยาชา คนไข้ต้องรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อนแล้วค่อยรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหารระหว่างที่ยังชาอยู่อาจจะทำให้กัดลิ้นหรือริมฝีปาก โดยไม่รู้ตัวหรือควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องเคี้ยว แล้วหาอาหารที่ทานง่าย อาทิ โจ๊ก, นม, น้ำเต้าหู้ เป็นต้น 2. ในระยะ 2-3 วันแรกของการรักษา คนไข้อาจรู้สึกว่าเหงือกบริเวณที่รักษารากฟันมานิ่มลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ 3. การบดเดี้ยวอาหารหลังรักษารากฟันใหม่ๆ อย่ากัดอาหารด้วยฟันที่เพิ่งรักษารากฟันมา ควรเคี้ยวอาหารอย่างระมัดระวัง อย่าเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะแข็งกรอบ อาทิ ถั่ว 4. การใช้งานครอบฟัน ในระยะแรกคนไข้อาจจะรู้สึกแปลกปลอม เคี้ยวไม่ถนัด ซึ่งนานไปจะรู้สึกชินไปเอง 5. ดูแลรักษาความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตรงบริเวณที่รักษารากฟันเป็นประจำทุกวัน และหากตรวจพบฟันผุที่ซี่อื่น ๆ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ 6. หากพบปัญหาเหล่านี้ควรรีบไปพบทันตแพทย์ – อาการบวมทั้งภายในและภายนอกปาก – กลับไปปวดฟันเหมือนก่อนที่จะรักษารากฟัน – มีอาการแพ้ยา […]
Author Archives: admin
คำแนะนำหลังการทำรากฟันเทียม หลังจากทันตแพทย์ทำการบูรณะด้านบนของรากฟันเทียมแล้ว ซึ่งอาจจะเป็น ครอบฟัน, สะพานฟัน หรือฟันปลอม ขึ้นอยู่กับจำนวนฟันที่สูญเสียและความต้องการของคนไข้ ซึ่งหลังจากทดแทนฟันเรียบร้อยแล้วคนไข้ควรปฏิบัติตัวดังนี้ 1. รักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ วันละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะซี่ที่เป็นรากฟันเทียม 3. หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่ทำรากฟันเทียมมาเคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง เหนียว แม้รากฟันเทียมจะยึดกับกระดูกเรียบร้อยแล้ว แต่เราก็ไม่ควรให้ฟันซี่นั้นกระทบกระแทกอะไรแรงๆ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อรากฟันเทียมได้ 4. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและตรวจรากฟันเทียมที่ได้ทำไว้ด้วยเป็นประจำ 5. หากดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่ดี เหงือกที่อยู่โดยรอบก็สามารถเกิดการอักเสบได้เหมือนฟันธรรมชาติ หากปล่อยให้เหงือกอักเสบรุนแรงขึ้น กระดูกโดยรอบฟันก็จะถูกทำลาย ทำให้รากฟันเทียมเกิดการโยก และหลุดในที่สุด ดังนั้นการดูแลความสะอาด และตรวจสุขภาพช่องปากอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
โรคมะเร็งในช่องปาก (ภาษาอังกฤษ: Oral cancer) คือ ก้อนเนื้อร้ายหรือมะเร็งที่เกิดขึ้นในบริเวณช่องปาก เป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของมะเร็งที่พบมากในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกอวัยวะในช่องปาก ได้แก่ ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้นไก่ เพดานปากทั้งเพดานอ่อนและเพดานแข็ง พื้นปากใต้ลิ้น ต่อมทอนซิล กระดูกขากรรไกร และส่วนบนของลำคอ (อวัยวะที่พบเป็นมะเร็งได้บ่อย คือ ลิ้น และพื้นปากใต้ลิ้น) การตรวจพบมะเร็งชนิดนี้สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก หากตรวจพบ และได้รับการรักษาโดยเร็ว จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ ซึ่งสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งช่องปากระยะแรกที่สามารถสังเกตรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก คือ 1.มีแผลเรื้อรังในช่องปากที่เป็นแล้ว ไม่หายภายใน 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป 2.มีแผ่นฝ้าสีขาว ถูไม่ออก หรือมีแผ่นฝ้าสีแดง 3.มีตุ่ม หรือก้อนในช่องปากที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บปวด 4.ขอบลิ้นหรือริมฝีปากมีลักษณะแข็ง เป็นไต 5.มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง 6.เสียงแหบ 7.กลืนอาหารลำบาก หากมีอาการดังกล่าว หรือตรวจพบรอยโรคก่อนมะเร็งในช่องปาก ให้ไปรับการตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทันที
การใส่เครื่องมือจัดฟัน ย่อมส่งผลให้ทำความสะอาดฟันยากขึ้น อีกทั้งการจัดฟันยังใช้เวลาในการจัดนานถึง 2 – 4 ปี ดังนั้นหากมีการดูแลฟันไม่ดีในช่วงนี้ก็อาจส่งผลให้ฟันผุและเหงือกอักเสบได้ 10 วิธีการดูแลฟัน สำหรับผู้ที่กำลังจัดฟัน เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นปาก 1.รับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ โดยเน้นที่มีกากใยอาหารสูง เพื่อช่วยขจัดคราบอาหารตามลิ้นและฟัน ในขณะที่กำลังเคี้ยวกากใยอาหารเหล่านี้ได้ 2.แปรงฟันอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง แต่ถ้าสามารถจะทำได้ ควรแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เพื่อที่จะได้กำจัดคราบอาหารที่ติดตามซอกฟันหรือเครื่องมือจัดฟัน ที่เป็นแหล่งที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ 3.ภายหลังการทานอาหาร ถ้ายังไม่สะดวกที่จะแปรงฟัน ควรบ้วนน้ำ เพื่อกำจัดเอาเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันหรือเครื่องมือจัดฟันออก 4.ใช้อุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดฟันเป็นพิเศษ ร่วมกับการแปรงฟัน เช่น แปรงซอกฟัน ที่ร้อยไหมขัดฟันร่วมกับไหมขัดฟันหรือ Superfloss 5.ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดฟันในข้อ 4 เป็นประจำทุกวัน 6.แปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยใช้ร่วมกับแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันโดยเฉพาะ 7.ควรที่จะใช้แปรงสีฟันแปรงลิ้นหรือใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้นโดยเฉพาะ หลังการแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่สะสมตามร่องลิ้น 8.พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง 9.งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้เกิดคราบสะสมบนผิวฟันได้ง่ายและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ 10.ควรพบทันตแพทย์ เพื่อทำการตรวจฟันและขูดหินปูน ทุกๆ 6-12 เดือน
การใช้ไหมขัดฟัน การมีสุขอนามัยในช่องปากที่ดีนอกจากการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งแล้ว การใช้ไหมขัดฟันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดในช่องปากได้ เพราะการแปรงฟันเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่เพียงพอ อาจทำให้เศษอาหาร คราบแบคทีเรีย (Plaque) บนผิวฟันยังคงหลงเหลือและติดอยู่ตามซอกฟัน สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ฟันผุ หรือโรคเหงือกอักเสบโดยเฉพาะบริเวณซอกฟันและด้านข้างของฟันที่อยู่ชิดกัน ดังนั้นเราจึงควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดในซอกฟันร่วมกับการแปรงฟันทุกครั้ง
การป้องกันฟันผุในวัยเด็ก โรคฟันผุ เกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากรวมตัวกับเศษอาหารและน้ำลายสะสมกันเป็นคราบ ซึ่งปัญหาฟันผุในเด็ก สามารถเกิดได้ในเด็กตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 ปี หรือเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเป็นซี่แรก โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กฟันผุมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว ดังนั้นการดูแลฟันเด็ก เพื่อให้หนูน้อยมีสุขภาพฟันที่ดี คุณแม่ควรตรวจฟันลูกด้วยตัวเองเป็นประจำ -ให้เด็กแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็น ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ -พยายามให้ลูกเลิกนมมื้อดึกและหลีกเลี่ยงการปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม -รับประมานอาหารให้ครบ 5 หมู่ -หลีกเลี่ยงขนมหวาน โดยเฉพาะขนมที่เหนียวติดฟันและขนมกรุบกรอบต่างๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อและคุณแม่ ควรปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพภายในช่องปาก และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน
ขั้นตอนการทำความสะอาดฟัน 1.เลือกแปรงสีฟันให้เหมาะกับเรา – ขนาดของแปรงสีฟัน ควรเป็นขนาดที่เหมาะกับช่องปากของเรา ส่วนในกรณีของเด็กนั้นจะมีการระบุอายุไว้แล้ว บริเวณฉลากข้างกล่องผลิตภัณฑ์ การเลือกแปรงสีฟันที่ใหญ่เกินไป อาจจะทำให้ไม่สามารถแปรงเข้าไปในบริเวณมุมข้างแก้มหรือซอกฟันข้างลิ้นได้ ส่วนถ้าขนาดเล็กเกินไป ก็อาจจะทำให้แปรงได้ไม่ทั่วถึงทั้งปากได้เช่นกัน – ขนแปรง ควรเลือกขนแปรงแบบอ่อนนุ่มและมีปลายมน เพื่อลดการทำให้เกิดฟันสึกหรือเป็นอันตรายต่อเหงือกของเรา และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ ทุกๆ 3 เดือน เนื่องจากขนแปรงที่ยังใหม่สามารถที่จะซอกซอนเข้าตามซอกฟันหรือร่องเหงือกเพื่อขจัดแผ่นคราบจุรินทรีย์ได้ดีกว่าขนแปรงที่เสื่อมสภาพจาการใช้งานมานาน 2.ใช้อุปกรณ์เสริมร่วมกับการแปรงฟันตามปกติ – ไหมขัดฟันจะช่วยขจัดอาหารที่ติดตามซอกฟัน ในบริเวณที่ขนแปรงเขาไปไม่ถึง – ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ – ใช้อุปกรณ์ช่วยการทำความสะอาดลิ้นหลังการแปรงฟัน เพื่อลดจำนวนแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามร่องลิ้น ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากได้ 3.แปรงฟันอย่างถูกวิธี ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ 4.ในกรณีที่ใส่ฟันปลอม ครอบฟัน สะพานฟันหรือจัดฟัน – ในกรณีเหล่านี้จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดฟันร่วมกับอุปกรณ์เสริมแบบต่างๆ เพิ่มเป็นพิเศษ จึงควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาถึงการดูแลอย่างถูกต้อง
ไหมขัดฟัน อันตรายจริงหรือ?? ในการดูสุขภาพอนามัยภายในช่องปาก นอกจากการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อยแล้ว เราควรใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดในช่องปากด้วย เพราะการแปรงฟันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ในการกำจัดคราบอาหารหรือคราบแบคทีเรียที่ติดอยู่ตามซอกฟัน แต่ในการเราเพิ่งเริ่มหัดใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันในครั้งแรก อาจจะพบเลือดไหลซึมออกมา ซึ่งจริงๆแล้วที่เลือดออกง่ายหลังการใช้ไหม สาเหตุหลักก็เนื่องจากมีเหงือกอักเสบ ดังเช่น – จากการที่มีเศษสิ่งสกปรกจากอาหาร ตกค้างอยู่ในซอกฟัน – การจัดฟัน มีแผ่นคราบจุลินทรีย์ติดตามเครื่องมือ – ในรายที่มีฟันซ้อนเก ทำให้มีอาหารติดในซอกฟันง่าย การใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันบ่อยๆ ก็จะทำให้สุขภาพของเหงือกและฟันของเราดีขึ้น ดังนั้นการใช้ไหมขัดฟันไม่มีผลอันตรายใดๆกับสุขภาพฟันและช่องปากแน่นอน
การฟอกฟันขาวด้วยแสงเย็น เป็นการฟอกสีฟัน โดยใช้แสง LED มากระตุ้นน้ำยาฟอกสีฟัน ให้สามารถแทรกซึมเข้าไปในผิวฟัน และทำปฏิกิริยาให้เม็ดสีบนเนื้อฟันเกิดการแตกตัวได้ดีขึ้น ซึ่งใช้ระยะเวลาสั้นๆ ในคลินิก ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก็จะช่วยให้ฟันขาวขึ้น สามารถเสริมความมั่นใจและบุคลิกได้มากขึ้น
สิ่งที่ต้องทำเมื่อผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว 1. กัดผ้าก๊อซให้แน่น ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยเปลี่ยนผ้าก๊อซชิ้นใหม่ 2. ขณะกัดผ้าก๊อซให้กลืนเลือด กลืนน้ำลาย ไม่ควรอมน้ำลายเอาไว้ เพื่อให้เลือดเข็งตัวเร็วขึ้น 3. ห้ามบ้วนปาก ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย ให้กลืนเลือดและน้ำลาย 4. ห้ามใช้ลิ้นสัมผัส หรือ เอาลิ้นไปดุนแผลผ่าฟันคุด เพราะจะไปรบกวนการแข็งตัวของเลือด 5. ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มข้างที่ผ้าฟันคุด เฉพาะวันที่ผ่าฟันคุดเท่านั้น 6. ทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด 7. ทานอาหารอ่อนๆ งดอาหารแข็ง เหนียว และอาหารที่มีรสจัด 8. ควรแปรงฟันเบาๆ ด้านที่ผ่าฟันคุด 9. ไม่ควรออกกำลังการหรือเล่นกีฬาที่หักโหมในช่วงแรก 10. หากมีอาการปวด ชา หรือเลือดไหลไม่หยุด ให้กลับไปพบทันตแพทย์ 11. ไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อตรวจแผลและตัดไหมโดยทั่วไป 7 – 10 วันหลังผ่าฟันคุด